แบบทดสอบก่อนและหลังการอบรม เรื่อง ความปลอดภัยด้านสารเคมีและการจัดการของเสียส าหรับห้องปฏิบัติการ เลือกข้อที่ถูกต้องที่สุด เพียงข้อเดียว
1. MSDS หรือ SDS คืออะไร
ก. ฉลากของสารเคมีแต่ละชนิด
ข. เอกสารที่แสดงข้อมูลของสารเคมีแต่ละชนิดเกี่ยวกับลักษณะความเป็นอันตราย วิธีใช้การเก็บรักษาการขนส่งการกาจัด
ค. ข้อกำหนดในการทางานกับสารเคมี
ง. แนวทางในการปฏิบัติงานกับสารเคมี
2. ท่านสามารถหา MSDS ได้จากที่ใด
ก. ร้านขายหนังสือทั่วไป
ข. สืบค้นจากฐานข้อมูลต่างๆ ในอินเทอร์เน็ต
ค. ฉลากข้างขวด
ง. ถูกทุกข้อ
3. จากภาพ สารเคมีชนิดนี้เป็นสารเคมีอันตรายประเภทไหน
ก. สารก่อมะเร็ง สารไวไฟ สารกัดกร่อน
ข. สารไวไฟ สารท าลายสิ่งแวดล้อม สารระคายเคือง
ค. สารระคายเคือง สารกัดกร่อน สารไวไฟ
ง. สารกัดกร่อน สารท าลายสิ่งแวดล้อม สารระคายเคือง
4. ข้อใดคือสัญลักษณ์ของสารกัดกร่อน
5. ทุกใดไม่ใช่กฎทั่วไปในการปฏิบัติงานกับสารเคมีอย่างปลอดภัย
ก. รู้จักสารเคมีที่ใช้
ข. รู้วิธีการปฏิบัติงาน
ค. รู้แหล่งผลิตสารเคมี
ง. มีการจัดการสารเคมีอย่างถูกต้อง
6. ข้อใดเป็นการปฏิบัติงานกับสารเคมีอันตรายที่ถูกต้องและปลอดภัย
ก. ใส่คอนแทคเลนส์เมื่อท างานกับสารเคมี
ข. สวมรองเท้าเมื่อท างานกับสารเคมี
ค. ถ้าไม่มั่นใจว่าเป็นสารเคมีอันตรายอย่างไร ให้ทดลองทาน้อยๆ ดูก่อน
ง. สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายที่เหมาะสมตลอดเวลา
7. ข้อใดเป็นการปฏิบัติงานกับสารเคมีอันตรายที่ถูกต้องและปลอดภัย
ก. สารเคมีที่มีไอระเหย มีกลิ่นฉุน รุนแรง เช่น กรด ฟอร์มาลีน ควรทาภายในตู้ดูดไอสารเคมี
ข. สารเคมีที่มีไอระเหย มีกลิ่นฉุน รุนแรง เช่น กรด ฟอร์มาลีน ควรทาในที่โล่ง ระบายอากาศดี
ค. สารเคมีทุกชนิด ควรท าภายในตู้ดูดไอสารเคมี
ง. ข้อ ก. และ ค. ถูกต้อง
8. ข้อใดแนวทางการจัดเก็บสารเคมีอย่างถูกต้องและปลอดภัย
ก. เก็บรักษาตามค าแนะน าใน MSDS
ข. สถานที่เก็บควรปิดสนิทมิดชิด ไม่ควรให้มีอากาศถายเทสู่ภายนอก
ค. เพื่อประหยัดพื้นที่ควรวางขวดสารเคมีซ้อนกัน โดยภาชนะขนาดใหญ่ไว้ชั้นลางสุด
ง. ถูกทุกข้อ
9. ข้อใดเป็นมาตรการควบคุม ป้องกันอันตรายจากสารเคมีอันตรายที่ดีที่สุด
ก. ติดตั้งพัดลมระบายอากาศ
ข. สวมใส่ถุงมือตลอดเวลาที่ท างานกับสารเคมี
ค. ยกเลิกการใช้สารเคมีที่เป็นอันตราย หรือเปลี่ยนไปใช้สารชนิดอื่นที่ปลอดภัยกว่า
ง. จัดท าเอกสารความปลอดภัยสารเคมีให้พร้อมใช้ตลอดเวลา
10. เมื่อสารเคมีหกใส่ร่างกายหรือกระเด็นเข้าตา ต้องทาอะไรเป็นสิ่งแรก
ก. รีบไปพบแพทย์ทันที
ข. อาบน้ า หรือล้างตาด้วยน้ำ นานอย่างน้อย 15 นาที
ค. รีบรายงานให้หัวหน้าห้องปฏิบัติการทราบ
ง. แจ้งผู้ร่วมงาน
11. ข้อใดต่อไปนี้ห้ามทิ้งลงอ่างน้ำหรือท่อน้ำทิ้งโดยตรง
ก. สารไวไฟ ข. สารตัวท าละลาย ค. สารไวปฏิกิริยากับน้ำเช่น โลหะโซเดียม
ง. ข้อ ก. และ ค. ถูกต้อง
12. เมื่อเกิดเหตุการณ์สารเคมีหกปนเปื้อนน้อย (minor chemical spill) ในหน่วยงานต้องทำอะไรเป็น
สิ่งแรก
ก. ท าความสะอาดบริเวณที่มีสารเคมีหก
ข. หยุดการปฏิบัติงาน ปิดห้องแล้วรีบออกไป
ค. แจ้งงานอาชีวอนามัยทันที
ง. แจ้งให้ผู้ที่อยู่ในบริเวณนั้นทราบทันที
13. ของเสียสารเคมีชนิดใดที่สามารถทิ้งลงอ่างน้ าหรือท่อน้ำทิ้งได้โดยตรง
ก. สารไวไฟสูง
ข. สารละลายบัฟเฟอร์
ค. ตัวท าละลายที่ไม่ละลายน้ำ
ง. สารไวปฏิกิริยากับน้ำ
14. เมื่อกรด HCl เข้มข้นหกในห้องปฏิบัติการ ควรใช้ neutralizing agent ตัวไหนเหมาะสมที่สุด
ก. ผงถ่านคาร์บอน
ข. โซเดียมไบคาร์บอเนต
ค. น้ำประปา
ง. ทราย
15. วิธีใดเหมาะสมที่สุด สำหรับการต้มสารละลายเมทานอล
ก. ต้มด้วยตะเกียงบุนเสน
ข. ต้มในอ่างน้ำควบคุมอุณหภูมิ
ค. ต้มภายในบีกเกอร์ใส่น้ำตั้งบนตะเกียงบุนเสน
ง. ต้มบน hot plate
16. UN Class 3 มีลักษณะความเป็นอันตรายอย่างไร
ก. แก๊สไวไฟ
ข. ของเหลวไวไฟ
ค. ของแข็งไวไฟ
ง. สารกัดกร่อน
17. เอกสารข้อมูลความปลอดภัยสารเคมี (Safety Data Sheet, SDS) ในปัจจุบันมีกี่ข้อ
ก. 10 ข้อ
ข. 12 ข้อ
ค. 14 ข้อ
ง. 16 ข้อ
18. ข้อมูลใดไม่ควรพบในเอกสารข้อมูลความปลอดภัยสารเคมี (Safety Data Sheet, SDS)
ก. สภาพแวดล้อมหรืออุณหภูมิที่เหมาะสมในการจัดเก็บสารเคมี
ข. รูปสัญลักษณ์แสดงความเป็นอันตรายของสารเคมี
ค. ชื่อบริษัทผู้ขายสารเคมี
ง. ชื่อบริษัทขนส่งสารเคมี
19. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
ก. ระบบ GHS สื่อสารข้อมูลสารเคมีผ่านทางฉลากและเอกสารข้อมูลความปลอดภัยสารเคมี (SDS)
ข. การจัดท าเอกสารข้อมูลความปลอดภัยสารเคมี (SDS) เป็นหน้าที่ของผู้ใช้สารเคมี
ค. การจัดทำเอกสารข้อมูลความปลอดภัยสารเคมี (SDS) เป็นหน้าที่ของผู้ผลิตสารเคมี
ง. ผลิตภัณฑ์เคมีบางชนิดอาจแสดงชื่อสารเคมีหรือรหัสประจำตัวบนฉลากขวด แต่จะแสดงในเอกสาร ข้อมูลความปลอดภัยสารเคมี (SDS)
20. ข้อปฏิบัติในการเก็บรักษาสารเคมี ข้อใดเหมาะสมที่สุด
ก. กรณีที่สารมีอันตรายหลายประเภทให้จัดเก็บตามลำดับตัวอักษร
ข. ควรแยกเก็บสารเป็นอย่างน้อย 6 กลุ่มหลัก ได้แก่ สารไวไฟ สารกัดกร่อน สารออกซิไดซ์ สารไวต่อน้ า และอากาศ สารที่ลุกติดไฟได้เอง และสารที่ต้องการเก็บรักษาพิเศษ
ค. ภาชนะบรรจุสารเคมีต้องติดฉลากให้ชัดเจน เช่น ระบุสูตรทางเคมีเพื่อบ่งชี้แทนการใช้ชื่อสารเคมี
ง. ถูกทุกข้อ
เฉลย
1.ข
2.ข
3.ง
4.ก
5.ค
6.ง
7.ก
8.ก
9.ค
10.ข
11.ค
12.ง
13.ข
14.ข
15.ข
16.ข
17.ง
18.ง
19.ข
20.ข
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น